5 ปี แผนต้านโกงยังห่างไกลเป้าหมาย

ดัชนีคอร์รัปชัน 2022 ไทยคะแนนกระเตื้อง แต่ยังหนีไม่พ้นอันดับหลักร้อย

เลือกตั้ง 2566 : ชี้ช่องรวย! พบทุจริตเลือกตั้ง แจ้งกกต. รับเงินรางวัลสูงสุด 1 ล้าน

โดยปี 2565 ดัชนีการรับรู้การทุจริต หรือค่า CPI ของไทยได้ 36 คะแนนเต็ม 100 อยู่ในอันดับที่ 101 จากทั้งหมด 180 ประเทศ หากนับเฉพาะกลุ่มสมาชิกอาเซียน ไทยอยู่อันดับ 4 เป็นรอง สิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนาม

ผลคะแนน CPI ของไทยปีล่าสุด เมื่อเปรียบเทียบกับ เป้าหมายในแผนยุทธศาสตร์ด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบที่ตั้งเอาไว้ว่าจะไปอยู่ในอันดับ 1 ใน 54 หรือได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 50 คะแนน ก็ถือว่ายังห่างไกลจากเป้าหมายมาก

ในเอกสารรายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2565 ใช้คำว่า “วิกฤตในการบรรลุเป้าหมาย

ซึ่งรายงานฉบับนี้ระบุถึงปัญหาหรือข้อจำกัดที่ส่งผลให้ดัชนีคอร์รัปชันของไทยยังไม่ดีขึ้นมีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการติดสินบนและการทุจริตในหน่วยงานภาครัฐ การจ่ายเงินค่าสินบนของภาคธุรกิจ เจ้าหน้าที่รัฐมีพฤติกรรมใช้ตำแหน่งหน้าที่ในทางมิชอบ รวมทั้งประชาชนยังไม่สามารถมีส่วนร่วมในการเข้าไปช่วยตรวจสอบ ติดตามการใช้งบประมาณและดำเนินการโครงการของหน่วยงานภาครัฐได้อย่างแท้จริง

ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) กล่าวว่า ถ้าเป็นงานในภาครัฐ ประชาชนจะมีความผูกพันน้อย เพราะภาครัฐไม่เปิดให้มีส่วนร่วมได้ ไม่โปร่งใส ไม่สร้างเครื่องมือ หรือไม่ให้โอกาส เพราะฉะนั้นตัวข้าราชการเองเดี๋ยวมาแล้วก็ไป แต่งตั้งโยกย้าย ย้ายไปย้ายมา นักการเมืองมาช่วงแค่ดูแลอำนาจแป๊ปเดียวก็ไป สักแต่จะใช้อำนาจ ใช้เงินเท่านั้น ความเป็นเจ้าของที่จะดูแลผลประโยชน์ตัวเอง มันจึงด้อยค่า ด้อยกว่ากันเยอะมาก อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ

สำหรับสิ่งที่เป็นความท้าทาย 3 เรื่องที่ต้องเร่งแก้ไข คือ

1.การปลูกฝังความตระหนักรู้ให้เด็ก เยาวชน และประชาชนให้มีทัศนคติ และพฤติกรรมยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริตให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย

2.หน่วยงานรัฐยังประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสไม่ครอบคลุมทุกหน่วย และวิธีประเมินไม่สะท้อนความจริง ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือ กรณีกรมอุทยานแห่งชาติฯ ที่มีระดับคะแนนประเมินคุณธรรมฯ อยู่ในระดับสูงมาก แต่กลับมีคดีถูกกล่าวหาเรียกรับเงินของผู้บริหารหน่วย

3.กระบวนการดำเนินคดีทุจริตยังคงมีความล่าช้า แม้กระบวนการดำเนินคดีทุจริตที่จำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาเกินกว่ากรอบเวลาปกติที่กฎหมายหนดในปีงบประมาณ 2562-2565 จะมีสัดส่วนที่ดีขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 73.80 เป็น ร้อยละ 71.98 แต่ก็ยังต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้มาก ถือว่ายังคงมีความเสี่ยงในการบรรลุเป้าหมาย

ทั้งนี้เกิดอะไรขึ้นกับการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ และแผน 5 บิ๊กร็อก (Big Rock) ปราบโกงที่ตั้งความหวังไว้เมื่อปีที่แล้ว

โดยหลายฝ่ายโดยเฉพาะพวกที่มีอำนาจรัฐ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหาร พรือฝ่ายนิติบัญญัติ หรือฝ่ายอื่น ยังไม่ได้ให้ความสำคัญ ต่อการป้องกันปราบปรามการทุจริตอย่างแท้จริง ไม่ได้มีความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหานี้ เขาเรียกว่า เป็นการขาดเจตนารมณ์ทางการเมืองหรือว่า POLITICAL VIEW ที่ในหลักสากล ถือเป็นเรื่องพื้นฐาน ถ้าหากว่าฝ่ายที่มีอำนาจในการบริหารประเทศ ไม่มี POLITICAL VIEW ในการแก้ไขปัญหาแล้ว ปัญหาก็คงแก้ได้ยาก เราจะเห็นได้ว่า บรรดาค่าดัชนีทั้งหลาย ของการรประเมินประเทศไทย โดยเฉพาะที่รู้จักกันดี อย่างค่า CPI ก็สะท้อนให้เห็นว่า ประเทศไทยที่เคยประสบความสำเร็จ หรือมีคะแนนดี เป็นลำดับต้น ๆ ของอาเซียน ก็ค่อย ๆ ถดถอยตกต่ำลงเรื่อย ๆ

ขณะที่การฉายภาพสะท้อน ของการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตของไทย ผ่านสายตาของ ศ.ภก.ภักดี โพธิศิริ ประธานกรรมการปฏิรูปประเทศ ด้านการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ที่มองว่า แม้ไทยจะมีความพยายามจะป้องกัน ปราบปรามการทุจริต แต่ผลงานที่ได้กลับมายังไม่เป็นที่น่าพอใจ เห็นได้จากดัชนีการรับรู้ทุจริต หรือ CPI ของไทยนั้นค่อย ๆ ถดถอยเมื่อเทียบกับอาเซียน

สำหรับการป้องกัน ปราบปรามการทุจริต ให้ประสบผลสำเร็จ ศ.ภก.ภักดี ระบุว่า ปัจจัยสำคัญอยู่ที่คน จึงมีความพยายามทำให้เกิดหลัก “ 3 ไม่ ” คือ ไม่กล้า เพราะมีกฎหมายที่เข้มงวดจริงจังจนไม่กล้าทำผิด ไม่สามารถ เพราะไม่มีช่องว่างที่สามารถทุจริตได้ ไม่อยาก เพราะมีการเปลี่ยนทัศนคติ จนทำให้เกิดความไม่อยากทุจริต

อันแรกจะต้องไม่กล้าทุจริต ไม่กล้าเพราะอะไร เพราะเรามีกฎหมาย ที่มีการบังคับใช้กฎหมาย ที่เข้มงวด กวดขันมีประสิทธิภาพจริงจัง บทลงโทษรุนแรง ให้เกิดความไม่กล้า อันที่ 2 คือไม่สามารถ คือคนที่คิดจะทุจริต พอเห็นมาตรการป้องกันการทุจริต ไม่มีช่องว่างช่องโหว่แล้ว ก็คงไม่สามารถจะทำได้หรอก เพราะถ้าทำเมื่อไหร่ก็จับได้ไล่ทัน โดนลงโทษ ส่วนประเด็นที่ไม่อยาก เป็นเรื่องที่เราต้องการอยากให้เกิดขึ้นมากที่สุดเลย เพราะว่าเป็นเรื่องของการสร้างจิตสำนึก หรือว่า เปลี่ยนมายเซ็ท ของผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นคนทุจริตให้เกิดความไม่อยากทุจริต” ศ.ภก.ภักดี กล่าว

ขณะเดียวกันในเชิงนโยบาย การป้องกัน ปราบปรามการทุจริต ตามแผนที่คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ด้านการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ซึ่งมีศ.ภก.ภักดี เป็นประธาน ก็ได้ปรับแก้แผนปฏิรูป ให้สอดคล้องกับแม่บทยุทธศาสตร์ 20 ปี ก่อนที่จะคลอดแผนปฏิรูปเวอร์ชันสอง ที่เรียกว่า บิ๊กร็อก (BIG ROCK) เมื่อต้นปี 2564

โดยแผนปฏิรูปที่มีการปรับแก้นี้ มี 5 เรื่อง ที่จะต้องมีการขับเคลื่อน และทำให้สำเร็จภายในปี 2565 คือ การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันทุจริต การพัฒนาการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การพัฒนากระบวนการยุติธรรม ให้รวดเร็ว ไม่เลือกปฏิบัติ ในคดีทุจริต การพัฒนาระบบราชการไทยให้โปร่งใส ไร้ทุจริต และการมีมาตรการต่อต้านการทุจริตเชิงนโยบาย แต่เมื่อครบระยะเวลา ตามที่ตั้งเป้าไว้ มีเพียง 1 เรื่อง ที่ทำสำเร็จ คือ การมีมาตรการต่อต้านการทุจริตเชิงนโยบาย ที่เห็นผลเป็นรูปธรรม และมีการออกกฎหมายมาสนับสนุน แต่อีก 4 เรื่องกลับไม่สำเร็จ โดยเฉพาะการผลักดันแก้ไขหฎหมายหลายฉบับ เช่น พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญ ของการดึงประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริต

“แนวคิดในเรื่องของทำให้ข้อมูลข่าวสารทางราชการ ให้เป็นข้อมูลข่าวสารสาธารณะ คือให้ถือว่า มีข้อมูลข่าวสารของรัฐ เป็นข้อมูลสาธารณะที่ต้องเปิดเผย ให้กับประชาชน ประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย ยกเว้นแต่ว่า กรณีที่เป็นข้อมูลที่กฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ ไม่ให้มีการเปิดเผย ยกเว้นมีการปฏิบัติตามเงื่อนตามกฎหมาย หรือกรณีข้อมูลความมั่นคง”

“ปัญหาใหญ่ที่สุดก็คือ ถ้าเรารู้ข้อมูลข่าวสาร เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้เหมือนกับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงบางประเทศ ที่เขามีระบบข้อมูลข่าวสารที่ดี ที่ว่า เข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลา เพียงแค่มีโทรศัพท์มือถือเพียงเครื่องเดียว อันนี้ก็จะอะไรที่คนละฉากทัศน์เลย คนละฉากทัศน์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเลย” ศ.ภก. ภักดี กล่าว

อย่างไรก็ตาม ศ.ภก.ภักดี ยังประเมินผลงานงานการปฏิรูปประเทศ ด้านการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ในฐานะประธานคณะกรรมการ หากคะแนนเต็ม 10 ให้คะแนนที่ 3-4 คะแนน เท่านั้น เพราะการผลักดันแผนปฏิรูปนี้ ต้องทำให้แล้วเสร็จภายในปี 2565 แล้ว แต่มีเพียงแค่เรื่องเดียวที่ทำสำเร็จจาก 5 เรื่อง ศ.ภก.ภักดี ยอมรับว่า หลังจากนี้การผลักดันคงเป็นเรื่องยาก เพราะหลังจากนี้จะเป็นหน้าที่ของหน่วยงานต้องบูรณาการทำงานร่วมกัน ซึ่งประสบการณ์ด้านการป้องกัน ปราบปรามการทุจริคำพูดจาก เว็บสล็อตแมชชีน

You May Also Like

More From Author